วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560

Bitcoin คืออะไร


Bitcoin คืออะไร
Bitcoin คือ สกุลเงินออนไลน์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากกลไกซึ่งกำหนดโดยคอมพิวเตอร์เพื่อมุงหวังจะให้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเสมือนเงินตรา เดิมทีนั้นสกุลเงิน Bitcoin จะถูกจัดเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์พกพาและสามารถโอนให้กันได้ ต่อมาได้เริ่มมีการนำมาใช้แลกเปลี่ยนกับสินค้าในลักษณะของการซื้อขายเช่นเดียวกับการใช้บัตรเครดิต ทั้งยังมีการนำมาแลกเปลี่ยนกับเงินสกุลต่าง ๆ โดยอัตราแลกเปลี่ยนนั้นถูกกำหนดกันเองภายในแวดวงผู้ใช้

ข้อสำคัญอีกหนึ่งประการก็คือ Bitcoin ไม่ถือเป็นเงินที่สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ไม่มีคุณค่าในตัวเอง หากแต่เป็นเพียงการกำหนดมูลค่าในการแลกเปลี่ยนขึ้นมาเท่านั้น ทั้งยังปราศจากการควบคุมของธนาคารกลางหรือภาครัฐ

Bitcoin ผิดกฎหมายหรือไม่
สำหรับข้อถกเถียงทางด้านกฎหมายเกี่ยวกับกรณี Bitcoin นั้น หากจะกล่าวอย่างเป็นกลางคงต้องสรุปว่า แม้สกุลเงิน Bitcoin จะไม่ได้รับการรับรองจากธนาคารกลางหรือภาครัฐ แต่โดยการมีอยู่ของมัน หรือแม้แต่การมีอยู่ในครอบครองก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตาม Bitcoin อาจกลายเป็นสิ่งผิดกฎหมายได้หากมันถูกใช้ในธุรกรรมที่ไม่ถูกต้อง เช่น ซื้อขายสินค้าผิดกฎหมาย หรือแม้แต่การแลกเปลี่ยนเพื่อฟอกเงิน โดยการตีความทางกฎหมายก็จะนับเป็นสื่อกลางชนิดหนึ่ง

ข้อดีและความน่าสนใจในการใช้จ่ายหรือลงทุนในตลาด Bitcoin
สำหรับการใช้จ่ายโดยใช้ Bitcoin เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนนั้นมีข้อดีในแง่ที่ทุกการชำระเงินจะไม่สามารถเรียกคืนได้ ในกรณีผู้ที่ทำร้านค้าออนไลน์และเรียกเก็บเงินในสกุล Bitcoin จึงสามารถมั่นใจได้ 100% ว่าจะไม่ถูกเรียกเงินคืนเสมือนการใช้บัตรเครดิตในสกุลเงินปกติทั่วไป นอกจากนี้การทำธุรกรรมโดยใช้สกุลเงิน Bitcoin ยังมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการขอเปิดบัญชีที่ผู้สมัครสามารถทำผ่านระบบออนไลน์โดยไม่จำเป็นต้องจัดเตรียมเอกสารใดเลย หรือแม้แต่การทำธุรกรรมต่าง ๆ ก็สามารถทำได้จากทั่วทุกมุมโลกอย่างสะดวกสบาย

ส่วนในแง่ของการลงทุนต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นก่อนว่า Bitcoin นั้นมีที่มาอย่างไรบ้าง และนำมาซึ่งรายได้ได้อย่างไร โดยจะต้องแบ่งออกเป็น 2 ช่องทางหลัก

ช่องทางแรกนั้นภาษาในวงการเรียกว่าการ “ขุด” คือการใช้คอมพิวเตอร์เฉพาะทางในการเปิดโปรแกรมค้างเอาไว้ โดยโปรแกรมจะแสวงหา Bitcoin ที่อยู่ในระบบทั้งนี้ผู้ออกแบบระบบได้เทียบจำลองเสมือน Bitcoin เป็นทองคำที่มีมูลค่า เมื่อขุดขึ้นมาแล้วก็สามารถนำไปใช้จ่ายหรือแลกเปลี่ยนเป็นเงินจริงได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องเข้าใจว่าการขุด Bitcoin นั้นต้องอาศัยคอมพิวเตอร์เฉพาะทางที่มีประสิทธิภาพเป็นพิเศษ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง

ช่องทางที่สองนั้น ได้แก่ การเก็งกำไร กล่าวคือไม่ว่าจะได้ Bitcoin มาจากการขุด หรือแลกเปลี่ยนมาจากเงินจริง หากเก็บเงินสกุล Bitcoin นั้นไว้ แล้วนำกลับมาแลกเปลี่ยนกลับเป็นเงินจริงอีกครั้งในช่วงที่ Bitcoin มีราคาสูงขึ้น ก็จะมีรายได้จากส่วนต่างเสมือนเป็นการเก็งกำไรค่าเงินหรือทองคำนั่นเอง ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความชำนาญในระดับหนึ่งเช่นกัน

ข้อเสียที่ควรระวังเกี่ยวกับการลงทุนในตลาด Bitcoin
เนื่องจากสกุลเงิน Bitcoin เป็นเพียงการกำหนดมูลค่าขึ้นมาเองโดยกลุ่มผู้ใช้ ไม่มีการอ้างอิงกับมาตรฐานทองคำ หรือสิ่งอื่นใดอันมีมูลค่าคงตัว ทั้งยังปราศจากการควบคุมของธนาคารกลางหรือภาครัฐ จึงทำให้มีความเป็นไปได้จะมีค่าผันผวน จุดดังกล่าวนี้จึงนับเป็นข้อควรระวังสำหรับผู้ที่สนใจจะลงทุนหรือถือครองเงินสกุล Bitcoin โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดแล้วก็มีความเป็นไปได้ที่วันหนึ่งเงินสกุล Bitcoin จะไม่มีคุณค่าใดเลย หากตลาดมีเหตุต้องล้มลง
นอกจากนี้ข้อควรระวังในการลงทุนหรือใช้สกุลเงิน Bitcoin อีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ใช้หรือผู้ถือครองทุกคนจะต้องตรวจสอบพฤติกรรมการถ่ายโอนค่าเงิน Bitcoin ของตนเองอย่างละเอียดอ่อนและมีความเข้าใจทางด้านกฎหมาย เพราะอาจมีบางแง่มุมที่สามารถตีความได้ว่าเป็นการใช้เพื่อการฟอกเงินซึ่งนับเป็นเรื่องที่มีความผิดในทางกฎหมาย

อ้างอิงจาก


Order Fulfillment activities คืออะไร

Order Fulfillment activities คืออะไร
ระบบบริหารและจัดการคลังสินค้า (Order Fulfillment)
ระบบบริหารและจัดการคลังสินค้า (Order Fulfillment) เป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับสินค้า โดยเชื่อมโยงการจัดการคลังสินค้า และการจัดส่ง เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อการปฏิบัติงานที่คล่องตัวรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการให้บริการขนส่งสินค้า 

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits) 
• การสร้างประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่คลังสินค้า (Optimize warehouse space)
• สร้างความคล่องตัวให้กับการปฏิบัติงานและเพิ่มประสิทธิผล (Streamline operations and increase productivity)
• ปรับปรุงบริการขนส่งให้ดีขึ้น (Improve logistics services)
• กำหนดสิทธิในการอนุมัติรายการในระบบ
• ได้รับประโยชน์จากความยืดหยุ่นและต้นทุนที่มีประสิทธิภาพเพื่อการเติบโต (Gain flexibility and cost effective for growth)
ความสามารถของระบบ 
• การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)
• สามารถเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันระบบสั่งสินค้า
• สามารถควบคุมและวิเคราะห์การปฏิบัติงานภายในคลังสินค้า
• กำหนดเส้นทางภายในคลังสินค้า บันทึกข้อมูลพนักงานหยิบสินค้า ช่วงเวลาการทำงาน ความเร็วในการหยิบต่อรอบของเส้นทาง
• วิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดวางสินค้าในชั้นของคลังสินค้า
• การกำหนดบทบาทของพนักงานในคลังสินค้า ผุ้มีอำนาจอนุมัติและ ตัดสินใจ
• บันทึกประวัติการทำงานต่าง ๆ ภายในคลังสินค้า การติดตามตัวสินค้า ล๊อตสินค้า ต้นทุนสินค้า การจัดการสินค้าส่งคืน


อ้างอิงจาก

NECTEC (เนคเทค) คืออะไร

NECTEC (เนคเทค) คืออะไร

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center : NECTEC หรือเนคเทค) ก่อตั้งขึ้นโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2529 โดยในระยะเริ่มต้นมีสถานะเป็นโครงการภายใต้ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน (ชื่อในขณะนั้น)
ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม 2534 เนคเทคได้เปลี่ยนแปลงสถานะเป็นศูนย์แห่งชาติเฉพาะทาง และเปลี่ยนการจัดรูปแบบองค์กรใหม่ เพื่อให้มีความคล่องตัวขึ้นกว่าเดิม ตามพระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2534 พ.ร.บ. ฉบับนี้ก่อให้เกิดการรวมตัวกันขององค์กรต่างๆ 4 องค์กรที่มีอยู่ขณะนั้น ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Science and Technology Development Board: STDB หรือ กพวท.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ขึ้นเป็นสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Development Agency: NSTDA หรือ สวทช.) สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (ในขณะนั้น)

สวทช. เป็นหน่วยงานของรัฐที่มิใช่ส่วนราชการ มีระบบการบริหารและนโยบายที่กำหนดโดยคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิในภาครัฐบาลและภาคเอกชนฝ่ายละเท่าๆ กัน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นประธาน ผู้อำนวยการ สวทช. เป็นกรรมการและเลขานุการ
เนคเทคมีคณะกรรมการบริหารศูนย์ ซึ่งมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับ กวทช. คือ มีกรรมการซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการเสนอแนะแนวนโยบาย วางแนวทางการบริหารงานของศูนย์ ที่สอดคล้องกับนโยบายและหลักเกณฑ์ที่ กวทช.กำหนด โดยมีผู้อำนวยการเนคเทคเป็นกรรมการและเลขานุการ

ภารกิจหลักของศูนย์ฯ ได้แก่
• ดำเนินการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมจากระดับห้องปฏิบัติการถึงขั้นโรงงานต้นแบบ ทั้งในด้านการสร้างขีดความสามารถและศักยภาพในสาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
• วิเคราะห์ สนับสนุน และติดตามประเมินผลโครงการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมของภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเพื่อสร้างความสามารถและศักยภาพในสาขาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
• ร่วมให้บริการวิเคราะห์และทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ การสอบเทียบมาตรฐานและความถูกต้องของอุปกรณ์ การให้บริการข้อมูล และการให้คำปรึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
• ร่วมจัดการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากร รวมทั้งให้คำปรึกษาทางวิชาการ
• ส่งเสริมและจัดให้มีความร่วมมือระหว่างนักวิจัยและนักวิชาการในสถาบันและหน่วยงานต่างๆทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
• สนับสนุน ประสานงาน และดำเนินการด้านความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อกระตุ้นการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ



อ้างอิงจาก

SIPA คืออะไร

SIPA คืออะไร
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ 
(องค์การมหาชน) 
Software Industry Promotion Agency

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือชื่อในภาษาอังกฤษว่า Software Industry Promotion Agency (Public Organization) เรียกชื่อย่อว่า SIPA เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2546 เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการวางแผนและกำหนดนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ การพัฒนาด้านบุคลากร การตลาด การลงทุน กระบวนการผลิต การสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี การส่งเสริมและพัฒนามาตรการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์ ทั้งนี้ 
เพื่อให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ สอดรับนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้การพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เป็นยุทธศาสตร์หลักในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทย ภารกิจหลักของ SIPA เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ประกอบด้วยการกำหนดแผนงานและนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศไทย ภายใต้แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ด้วยการส่งเสริมการศึกษา การฝึกอบรมพัฒนาทักษะให้เกิดความรู้และความเชี่ยวชาญ และส่งเสริมการจ้างงานในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ภารกิจด้านการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย 
ด้วยการสนับสนุนการค้นคว้าวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างแรงจูงใจในการลงทุนในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ โดยการเสนอแนะมาตรการทางด้านภาษีและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ผู้ประกอบการด้านซอฟต์แวร์ ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ส่วนราชการและเอกชน เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ นำซอฟต์แวร์ไทยไปใช้เพิ่มประสิทธิภาพในทำงาน รวมทั้งภารกิจด้านการประสานงานกับต่างประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือที่ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ 

อ้างอิงจาก


วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

CRACKER คืออะไร

CRACKER คืออะไร
คือกลุ่มวัยรุ่นที่มีอายุประมาณ 17 –18 ที่เข้าไปสู่ไฟล์หรือระบบของผู้อื่นโดยไม่ได้อณุญาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทาง Network
วัตถุประสงค์
- เพื่อต้องการจะรู้เกี่ยวกับระบบการทำงานของมัน
- ต้องการสิทธิที่จะจัดการข้อมูลในระบบให้เป็นไปตามที่ต้องการ
- ต้องการกำไร
- ต้องการทำลายข้อมูล หรือแก้ไข ซึ่งก่อให้เกิดผลร้ายแก่เจ้าของไฟล์
- ต้องการลองวิชาว่าสามารถทำได้จริงหรือเปล่า
- ต้องการแอบดูข้อมูล
                              
ประเภทของ  Cracker
เริ่มแรกพวก cracker จะไปสุ่มหา Password เพื่อใช้ในการเข้าระบบก่อนแล้วจากนั้นจึงทำดังต่อไปนี้
- เจาะระบบ เช่นการบุกรุกเข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อแก้เกรด เป็นต้น
- ก่อกวนระบบ เช่น
Robert Morris ผู้สร้างหนอน Internet เข้ามาทำลาย ระบบ ทำให้ระบบเกิดความเสียหาย
- ขโมยข้อมูล
Copy รูปภาพของคนอื่น ไปใส่ใน Web  ของตัวเอง
- ใช้รูปภาพ หรือข้อมูลต่าง ๆจาก
Web อื่น ๆ โดยการ Link หรือ Copy มาโดยไม่ได้ รับอนุญาติ
- เข้าไปทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาติ
ข้อเสีย
- ทำให้คนไม่ไว้วางใจในตัวระบบ Network เพราะ ระบบยังไม่สามารถป้องกันการ Cracking ได้
-
ทำให้เจ้าของ Web ที่ถูก Link หรือ ถูก Copy ข้อมูลไปใช้ใน Web อื่น ถูกเรียก เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่ม ( ดูคำอธิบายใน Banwidth Concept )
-
ข้อมูลที่เป็นความลับก็จะถูกเผยแพร่
- ทำให้เสียเปรียบคู่แข่ง เพราะ คู่แข่งอาจรู้ข้อมูลที่เป็นความลับของเราทำให้ความลับรั่วไหล
- ทำให้คนไม่อยากสร้างงานใหม่ ๆ เพราะสร้างมาก็ถูกคนอื่นนำไปใช้ จึงไม่คิดหาผลงานใหม่ ๆ ความรู้และแนวคิดต่าง ๆก็จะหายไปจาก web
- การที่ข้อมูลที่มีความสำคัญของบริษัท ถูกทำลาย ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่าย และเวลาในการกู้ File ขึ้นมาใหม่




อ้างข้อมูลจาก

www.bus.tu.ac.th

Green Technologies คืออะไร

Green Technologies คืออะไร
Green Technologies หรือเทคโนโลยีไอทีเพื่อสิ่งแวดล้อมนั้น สืบเนื่องมาจากในปัจจุบันได้มีการตื่นตัวกันอย่างมากในเรื่องของการรักษาสภาพแวดล้อมให้กับโลก ซึ่งทั้งหมดนั้นก็เกิดมาจากผลการกระทำของมนุษย์เองไม่ว่าจะเป็นในอดีตหรือปัจจุบันก็ตาม ดังนั้นลองมาดูกันว่าเทคโนโลยีด้านระบบไอทีนั้น มีเทคโนโลยีไหนหรือเทคโนโลยีของใครบ้างที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสภาพแวดล้อมของโลก และรายละเอียดของการรักษาสภาพแวดล้อมภายในเทคโนโลยีนั้น ๆ มีอะไรบ้าง 

                        

รู้จักกับ Green Technology
พอพูดถึงคำว่าเทคโนโลยี เราก็มักจะนึกถึงแอพพลิเคชั่นที่ช่วยสร้างชิ้นงานหรือความรู้ คำว่า Green Technology หรือเทคโนโลยีสีเขียว เป็นวิวัฒนาการ วิธีการ และอุปกรณ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการจัดการแก้ไขปรับแต่งให้การทำงานของผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดปัญหาผลกระทบจากการใช้งานของอุปกรณ์ เรียกว่าจะช่วยให้การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ สะอาดขึ้น ซึ่งเป้าหมายของการพัฒนานั้นได้เติบโตไปยังสิ่งต่าง ๆ ได้แก่
- การสนับสนุน จะมีการประชุมเพื่อสร้างสังคมในอนาคตโดยปราศจากการเสียหาย การทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
- การออบแบบจากแหล่งกำเนิดไปยังแหล่งกำเนิด การใช้งานของสิ่งต่าง ๆ ก็จะเป็นวัฎจักรของผลิตภัณฑ์ โดยการสร้างผลิตภัณฑ์ให้สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้
- การลดข้อมูล เป็นการลดทิ้งและมลพิษโดยการเปลี่ยนรูปแบบของการนำไปสร้างผลิตภัณฑ์และการบริโภค
- พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ เป็นการพัฒนาเพื่อเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นการนำซากสัตว์มาเป็นเชื้อเพลิงหรือทางเคมี แต่ก็อาจทำให้สุขภาพและสภาพแวดล้อมเสียหายได้
- ความสามารถในการดำรงชีวิต สร้างศูนย์กลางทางด้านเศรษฐศาสตร์ให้เหมาะสมกับเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ความเร็วในการพัฒนาและสร้างอาชีพใหม่เพื่อปกป้องโลก
- พลังงาน ต้องรับรู้ข่าวสารทางด้านเทคโนโลยีสีเขียว รวมไปถึงการพัฒนาของเชื้อเพลิง ความหมายใหม่ของการกำเนิดพลังงาน และผลของพลังงาน
- สภาพสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การค้นหาสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อค้นหาสิ่งที่บรรจุและวิธีที่ทำให้เกิดการกระทบกับสภาพแวดล้อมน้อยที่สุด







อ้างจาก

http://www.mvt.co.th/viewnews.php?cid=3&nid=271&page=2

Hacker คืออะไร

Hacker คืออะไร
"แฮกเกอร์ (Hacker) คือ บุคคลที่มีความสนใจในกลไกการทำงานของระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์อย่างลึกซึ้ง แฮกเกอร์ส่วนใหญ่ต้องมีความรู้เทียบเท่าหรือเหนือกว่าโปรแกรมเมอร์ โดยจะเป็นเช่นนั้นได้ เพราะพวกเขามีความใส่ใจที่จะนำความรู้พื้นฐานที่ผู้อื่นมองว่าธรรมดามาประยุกต์ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดแนวความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่ในสังคมดิจิตอลอยู่ตลอดเวลา แฮกเกอร์จะมีความเข้าใจในจุดอ่อนของระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้นๆ เนื่องจากคอยติดตามข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การกระทำใดๆ ที่เกิดจากการศึกษาของแฮกเกอร์จะต้องแน่ใจแล้วว่า ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล"


      "แฮกเกอร์ (Hacker) หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย ของคอมพิวเตอร์ได้ กลุ่มพวกนี้จะอ้างว่า ตนมีจรรยาบรรณ ไม่หาผลประโยชน์จากการบุกรุกและประณามพวก Cracker"
      "แฮกเกอร์ (Hacker) คือ บุคคลผู้ซึ่งสามารถประยุกต์เอาความรู้ธรรมดาให้กลายเป็นเครื่องมือพิเศษ ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่สุจริตได้”


อ้างอิงข้อมูลจาก

http://guru.sanook.com/5109/

Pharming คืออะไร

Pharming คืออะไร
Pharming คือ เป็นการที่แฮ็กเกอร์ (Hacker) ได้เข้าไปโจมตีเครื่องแม่ข่าย (server) ของเว็บไซต์ต่างๆ และทำการส่งคนเข้าเว็บไซต์ ให้ไปที่เว็บไซต์ปลอมแทน Pharming นั้นมักจะการทำโดยเข้าไปเปลี่ยนแฟ้มข้อมูลแม่ข่าย (hosts file) ของเครื่องแม่ข่ายที่เป็นเหยื่อให้เปลี่ยนไปที่เว็บไซต์ปลอมหรือว่าจะใช้ exploit ส่งเข้าไปโดยใช้ช่องโหว่ของ  DNS Serversoftware เอง
การโจมตีรูปแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นการโจมตีชนิดที่สังเกตได้ยากเพราะว่าสิ่งที่ถูกโจมตีนั้นเป็นที่เครื่องแม่ข่ายและจะถูกส่งที่เว็บไซต์ปลอมที่มีลักษณะหน้าตาเหมือนกัน  ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจจับ ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ก็คือการป้องกันตัวเองโดยการไม่ประมาทเราจึงไม่ตกเป็นเหยื่อของ Pharming




อ้างอิงจาก

http://www.scriptthai.com/2009/12/06/ศัพท์คอมพิวเตอร์/

Phishing คืออะไร

Phishing คืออะไร
Phishing (ฟิชชิ่ง)นั้นเรียกว่าเป็นภัยทางอินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นการหลอกลวงโดยการสร้างอีเมล์ หรือหน้าเว็บปลอมขึ้นมา เพื่อพยายามหลอกลวงให้ผู้ใช้งานหลงเชื่อ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหวังผลให้ผู้ใช้งานเกิดความสับสนขึ้นในการทำธุรกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์ และเมื่อผู้ใช้งานเกิดการหลงเชื่อทำธุรกรรมใดๆ ที่สำคัญบนเว็บไซต์ปลอมเหล่านี้ ข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้งานอย่างเราก็จะถูกเก็บไว้อยู่ในฐานข้อมูลของเว็บไซต์ปลอมเหล่านี้ ทำให้ข้อมูลของผู้ใช้งานอย่างเราถูกแฮกข้อมูล หรือนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต และเกิดความเสียหายขึ้นนั่นเอง


ความหมายของคำว่า Phishing คืออะไร?
คำว่า Phishing นั้นเรียกว่าเป็นคำพ้องเสียงจากคำว่า ตกปลา (Fishing) ใช้ในความหมายของกรณีการหลอกลวงบนโลกออนไลน์นี้เปรียบเทียบกับการใช้เบ็ดตกปลาหลอกล่อเหยื่อให้มาติดกับดัก โดยใช้เว็บไซต์ปลอมที่เลียนแบบเว็บไซต์จริง ทำให้ผู้ใช้งานหลงเชื่อเข้าไปทำธุรกรรมต่างๆ ในเว็บไซต์ปลอมเหล่านั้น หรือพูดง่ายๆ ว่าเป็นการแอบขโมยข้อมูลของเราไปแบบเนียนๆ โดยที่เราไม่ทันได้ระมัดระวังหรือตั้งตัวนั่นเอง



อ้างอิงจาก

http://www.เกร็ดความรู้.net/phishing/

6Sigma คืออะไร

6Sigma คืออะไร
Six sigma เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นในการลดความผิดพลาด ลดความสูญเปล่า และลดการแก้ไขตัวชิ้นงาน และสอนให้พนักงานรู้แนวทางในการทำธุรกิจอย่างมีหลักการ และจะไม่พยายามจัดการกับปัญหาแต่จะพยายามกำจัดปัญหาทิ้ง Six sigma จะดีที่สุดเมื่อทุกคนในองค์การร่วมมือกันตั้งแต่ CEO ไปจนถึงบุคลากรทั่วไปในองค์การ ซึ่ง Six sigma เป็นการรวมกันระหว่างอานุภาพแห่งคน (Power of people) และอานุภาพแห่งกระบวนการ (Process Power) ซึ่งถ้าตัว Six sigma มีค่าสูงหรือมีความผันแปรมากขึ้นเท่าไร ก็เปรียบเสมือนมีการทำข้อผิดพลาดมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดตัวนี้เรียกว่า DPMO (Defects Per Million Opportunities)
Six sigma จึงถูกนำมาใช้เป็นชื่อเรียกของวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพในขบวนการใด ๆ โดยมุ่งเน้นการลดความไม่แน่นอน หรือ Variation และการปรับปรุงขีดความสามารถในการทำงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อนำมาซึ่งความพอใจของลูกค้า และผลที่ได้รับสามารถวัดเป็นจำนวนเงินได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้ หรือลดรายจ่ายก็ตาม
แนวคิดพื้นฐานของ Six sigma
การพัฒนาองค์การแบบ six sigma เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การสร้างกลยุทธ์ และนโยบาย การกระจายนโยบาย การจูงใจ และการจัดสรรทรัพยากรในองค์กรให้เหมาะสม เพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถ มีความตั้งใจที่จะปรับปรุง ต้องได้รับความรู้ที่เพียงพอต่อการปรับปรุง รวมทั้งมีทีมที่มีความสามารถและมีความตั้งใจที่จะปรับปรุง มีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อให้ความผิดพลาดในการผลิตและการบริการมีน้อยที่สุด แนวความคิดการบริหารปรับปรุงองค์การแบบ six sigma มีความแตกต่างจากแนวความคิดในการบริหารแบบเดิม ที่เน้นการปรับปรุงการทำงานโดยเริ่มจากผู้บริหาร แล้วจึงกระจายให้หน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การปรับปรุง โดยขาดระบบการให้คำปรึกษาแนะนำและการช่วยเหลือที่เหมาะสม
แนวคิดแบบ six sigma
เน้นให้พนักงานแต่ละคนสร้างผลงานขึ้นมาโดย
1. การตั้งทีมที่ปรึกษา (Counselling groups) เพื่อให้คำแนะนำพนักงานในการกำหนดแผนปรับปรุงการทำงาน
2. การให้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปรับปรุง (Providing resource)
3. การสนับสนุนแนวความคิดใหม่ ๆ (Encouraging Ideas) เพื่อให้โอกาสพนักงานในการเสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ
4. การเน้นให้พนักงานสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง (Thinking) เพื่อให้พนักงานสามารถกำหนดหัวข้อการปรับปรุงขึ้นเอง ภายใต้ข้อกำหนดของผู้บริหารองค์การ
แนวคิดการบริหารองค์การแบบเดิม
1.ใช้การแก้ปัญหาแบบวันต่อวัน ทักษะในการเรียนรู้ของพนักงานจะเน้นที่การเรียนรู้จาการทำงานจริงเป็นหลัก โดยมีความเชื่อว่าถ้ามีคนเข้าไปดูปัญหาอย่างจริงจังจะสามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งบางครั้งการแก้ปัญหาไม่ได้มาจากการแก้ไขที่สาเหตุแต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้
2.ผลของการแก้ไขปัญหาจะต้องหายขาด
3.คัดเลือกพนักงานที่ทำงานประจำมาทำการแก้ไขปัญหา โดยแก้ไขเฉพาะหน่วยงานของตนเอง ถ้าปัญหาเกิดจากหน่วยงานอื่นก็จะขอร้องให้หน่วยงานนั้น ๆ ทำการแก้ไข
4.ผู้นำคือผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในปัจจุบันได้
5.ใช้ประสบการณ์และความชำนาญเป็นหลักในการปรับปรุง เพราะเห็นผลสำเร็จได้ง่าย
6.ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของพนักงานแต่ละคนต้องปฏิบัติ
แนวคิดการบริหารแบบ six sigma
1.เน้นสร้างทักษะและการเรียนรู้ให้แก่พนักงานอย่างเป็นระบบ และเข้มงวด รู้ปัญหาและกำหนดเป็นโครงการปรับปรุงทั้งระยะสั้นและระยะยาว
2.วัดที่ผลการปรับปรุงเป็นหลัก
3.ใช้ทีมงานที่มีผลประเมินการทำงานดี หรือ ดีเยี่ยม มาทำการปรับปรุงและตัดสินใจให้คนเก่งมีเวลาถึง 100 % เพื่อแก้ปัญหาให้กับองค์การ
4.สร้างผู้นำโครงการให้เกิดขึ้นในอนาคต
5.ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสินใจเท่านั้น
6.เน้นความรับผิดชอบในการทำโครงการ
7.การให้คำมั่นสัญญามาจากผู้บริหาร
หลักการสำคัญของกลยุทธ์ Six sigma
การบรรลุกลยุทธ์ที่สำคัญของ six sigma ซึ่งเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย Define - Measure – Analyze – Improve – Control
1. Define คือ ขั้นตอนการระบุและคัดเลือกหัวข้อเพื่อการดำเนินการตามโครงการ
Six Sigma ในองค์กร โดยมีขั้นตอนการคัดเลือกโครงการ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 โครงการนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร (Business Goal)
ขั้นตอนที่ 2 มอบหมายให้ฝ่ายต่างๆ ที่เสนอโครงการไปพิจารณาหากลยุทธ์ (Strategy) ในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร (ตามขั้นตอนที่ 1)
ขั้นตอนที่ 3 แต่ละฝ่ายนำเสนอกลยุทธ์ในการดำเนินการให้ผู้บริหารทราบ และเมื่อผู้บริหารเห็นชอบแล้ว ให้กลับไปกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินงาน (High Potential Area)
ขั้นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการได้แล้ว ให้แต่ละฝ่ายกลับไปพิจารณาหัวข้อย่อยที่จะใช้ในการดำเนินการ
2. Measure เป็นขั้นตอนการวัดความสามารถของกระบวนการที่เป็นจริงในปัจจุบัน ขั้นตอนการวัดจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอน Plan Project with Metric คือ การวางแผนและดำเนินการคัดเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการดำเนินการโครงการ
ขั้นตอน Baseline Project คือการวัดค่าความสามารถของกระบวนการที่เป็นจริงในปัจจุบัน โดยวัดผ่านตัวชี้วัดต่างๆ ที่เลือกสรรมาจากขั้นตอน Plan Project with Metric
ขั้นตอน Consider Lean Tools คือ วิธีการปรับปรุงกระบวนการด้วยการใช้เทคนิคต่างๆ ของวิศวกรรมอุตสาหการ
ขั้นตอน Measurement System Analysis (MSA) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเป็นขั้นตอนการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการทำงานว่ามีความปกติหรือไม่ก่อนจะลงมือปฏิบัติงาน
ขั้นตอน Organization Experience หมายถึง ขั้นการนำประสบการณ์ที่ผ่านมาขององค์กร จะช่วยคิดในการแก้ไขปัญหา
3. Analyze ขั้นตอนนี้คือการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาหลัก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ในเชิงสถิติเพื่อระบุสาเหตุหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อปัญหานั้น ซึ่งเรียกสาเหตุหลักนี้ว่า KPIV (Key Process Input Variable) ซึ่งต้องสามารถระบุให้ชัดเจนว่า อะไรคือ KPIV ของปัญหาและต้องสามารถเชื่อมโยงกับ ตัวหลักของกระบวนการ หรือที่เรียกว่า KPOV (Key Process Output Variable) ให้ได้ หลักการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การตรวจสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) ผังการกระจาย (Scattering Diagram) การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) เป็นต้น
4. Improvement ขั้นตอนนี้คือการปรับตั้งค่าสาเหตุหลัก (KPIV) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผลลัพธ์ของกระบวนการเป็นไปตามต้องการ ด้วยการใช้เทคนิคการออกแบบทดลอง(Design of Experiment : DOE) เพื่อปรับตั้งค่าสภาวะต่างๆของกระบวนการให้เป็นไปตามความต้องการ
5. Control ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งต้องดำเนินการออกแบบระบบควบคุณคุณภาพของกระบวนการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากระบวนการจะย้อนไปมีปัญหาเหมือนเดิมอีก DMAIC เป็นวิธีการพื้นฐานในกระบวนการ อาจให้คำจำกัดความสั้นๆ ได้ว่า Define: ต้องไม่มีการยอมรับความผิดพลาด Measure : กระบวนการภายนอกที่หาจุดวิกฤตเชิงคุณภาพ Analysis : ทำไมความผิดพลาดจึงเกิดขึ้น Improve : การลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้น Control : ต้องควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมาย
องค์ประกอบสำคัญที่มีบทบาทต่อ six sigma
โครงสร้างและหน้าที่รับผิดชอบ ของ Six sigma ประกอบด้วย
1.Champion เป็นชื่อเรียกผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงสุดต่อผลสำเร็จในงาน หรือผู้บริหารระดับสูง (Executive-Level Management) สนับสนุนให้เป้ามายของงานสำคัญประสบความสำเร็จ รณรงค์และผลักดันให้เกิดองค์การ six sigma และเกิดกระบวนการปรับปรุงองค์การอย่างต่อเนื่อง ขจัดอุปสรรค ให้รางวัลหรือค่าตอบแทน ตอบปัญหา อนุมัติโครงการ กำหนดวิสัยทัศน์โครงการ สนับสนุนทรัพยากรในด้านบุคลากร งบประมาณ เวลา สถานที่ กำลังใจ และความชัดเจนในหน้าที่ ผลักดันให้มีจำนวน Black Belt และ Green Belt ที่เหมาะสมในองค์การ มีหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการปรับปรุง ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมในการปรับปรุงให้เกิดขึ้นในองค์การ โดยอาศัยการสื่อสาร การตั้งคำถามเพื่อย้ำให้เกิดแนวความคิดแบบ six sigma มีการชมเชยและการให้ประกาศนียบัตรแก่พนักงานในองค์การ มีการคัดเลือกโครงการปรับปรุงที่ดีเยี่ยมและการให้รางวัลเมื่อพนักงานปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
2. Six sigma Director มีหน้าที่นำและบริหารองค์การให้สำเร็จบรรลุแนวทาง six sigma ภายในหน่วยงานทางธุรกิจตนเอง เป็นผู้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติและนโยบายการดำเนินงานของ six sigma สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญในการกระจายนโยบายให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
3. Master Black Belt คือ ผู้ชำนาญการด้านเทคนิค และเครื่องมือสถิติ เป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำงานเป็นอย่างดี และสามารถถ่ายทอดและให้การอบรมเพื่อสร้างทีม Black Belt และ Green Belt ตลอดการปรับปรุงได้ เป็นผู้ช่วยเลือกโครงการปรับปรุงให้แก่ Champion และเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในการคัดเลือกโครงการปรับปรุง โดยมองในภาพรวมใหญ่ขององค์การ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการเสนอโครงการปรับปรุงที่เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานต่าง เป็นต้น
4. Black belt คือ ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) และผู้ประสานงาน (Facilitator )ได้รับการรับรองว่าเป็นสายดำชั้นครู Black belt เป็นการบ่งบอกถึงระดับความสามารถสูงสุดของนักกีฬายูโด จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ บริหารลูกทีมที่มีลักษณะข้ามสายงาน ซึ่งในการบริหาร six sigma จะประกอบไปด้วยการทำโครงการย่อยที่คัดเลือกจากปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การ กระจายกลยุทธ์และนโยบายของบริษัทไปยังระดับปฏิบัติการ ผลักดันความคิดของ Champion ให้เกิดขึ้นและให้ความช่วยเหลือ Master Black Belt six sigma Director และ Champion นอกจากนี้ยังเป็นผู้ค้นหาปัญหาและอุปสรรคที่อยู่ในองค์การ และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความจำเป็นในการทำให้องค์การบรรลุความพึงพอใจของลูกค้า เป็นผู้บริหารโครงการในแต่ละขั้นตอนตามแนวทาง six sigma ประกอบด้วย กระบวนการวัด การวิเคราะห์ การปรับปรุง และการควบคุม โดยให้เกิดการกระจายผลการปรับปรุงไปสู่การปฏิบัติ รายงานความก้าวหน้าของโครงการให้ผู้บริหารระดับสูงทราบ Black Belt จะต้องทำหน้าที่ในการโน้มน้าวทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คัดเลือกเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงได้อย่างเหมาะสม เก็บรวบรวมปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการปรับปรุงจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์การ ทั้งจากพนักงานจนถึงระดับผู้จัดการ สร้างความมั่นใจว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับปรุงสามารถคงอยู่ได้ตลอดไป
Black Belt ต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้ทีสำคัญในการปรับปรุงการทำงาน ซึ่งความรู้หลัก ๆ ของ Black Belt เพื่อการทำโครงการปรับปรุงที่จะได้รับประกอบด้วย
4.1 ความรู้ทางสถิติ
4.2 ความรู้ทางด้านการบริหารโครงการ
4.3 ความรู้ทางด้านการสื่อสารและการเป็นผู้นำโครงการ
4.4 ความรู้เพื่อการปรับปรุงคุณภาพอื่น ๆ
5. Green belt คือพนักงานที่ทำหน้าที่โครงการ เป็นผู้ที่รับการรับรองว่ามีความสามารถเทียบเท่านักกีฬายูโดในระดับสายเขียว ซึ่งในการบริหาร six sigma นั้น ผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Green belt จะเป็นผู้ช่วยของ Black belt ในการทำงาน ทำหน้าที่ในการปรับปรุงโดยใช้เวลาส่วนหนึ่งของการทำงานปกติ นำวิธีการปรับปรุงตามแนวทาง six sigma ไปใช้ในโครงการได้ สามารถนำเอาแนวความคิดและวิธีการปรับปรุงไปขยายผลต่อในหน่วยงานของตนเองได้
6. Team Member ในโครงการทุกโครงการจะต้องมีสมาชิกทำงาน 4-6 คน โดยเป็นตัวแทนของคนที่ทำงานในกระบวนการที่อยู่ในขอบข่ายของโครงการ
ส่วนสำคัญที่สุดในการทำ Six sigma คือ โปรเจ็ก แชมเปี้ยน ซึ่งจะมีหน้าที่ในการดูแลให้การสนับสนุน และจัดหางบประมาณที่เพียงพอให้แต่ละ Six sigma และยังคอยสนับสนุน แบล็กเบลต์
ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ
1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ
2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้
3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบข้ากลุ่มอุตสาหกรรมได้ (Benchmarking)


อ้างอิงข้อมูลจาก

http://club.sanook.com/28455/six-sigma-คืออะไร-การนำ-six-sigma-ไปใช้/

Software pirate คืออะไร

Software pirate คืออะไร
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (Software  Piracy)  คือ  การทำซ้ำหรือดัดแปลง  การเผยแพร่ซอฟต์แวร์ต่อสาธารณะชน  การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาซอฟต์แวร์  ตลอดจนการแสวงหากำไรจากซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือโดยไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายตามค่าลิขสิทธิ์ที่กำหนดไว้

สำหรับผู้ใช้งานไอทีทั่วไป  มีโอกาสที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้จากหลายสาเหตุ  ไม่ว่าจะเป็นการไม่เข้มงวดกับข้อบังคับขององค์กร  หรือแม้กระทั่งการเพิกเฉยของผู้เชี่ยวชาญ  นอกจากนี้  งานวิจัยบางผลงาน  (โดย  ดร. Whitman)  ได้กล่าวว่า  การละเมิดลิขสิทธิ์นั้น  ส่วนหนึ่งมาจากทัศนคติ (Attitude) ของประชาชนในแต่ละประเทศต่อเรื่องดังกล่าว  เช่น  ประเทศสหรัฐอเมริกา  จะมีความอดทนต่อการละเมิดลิขสิทธิ์น้อยมาก  นั่นแสดงให้เห็นว่า  ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายและการปฏิบัติที่เข้มงวดต่อการละเมิดลิขสิทธิ์มาโดยตลอด  ทำให้พลเมืองมีทัศนคติเป็นไปในทางเดียวกัน  คือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการละเมิดลิขสิทธิ์
ตรงกันข้ามกับกลุ่มประเทศในฝั่งทวีปเอเชียที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์สูงที่สุด  โดยปัจจัยหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุคือ “กฎหมาย  บทลงโทษ  และการปฏิบัติที่ไม่เคร่งครัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ”  นอกจากนี้  อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ  คือ  ประชาชนพบเห็นการค้าขายซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายอย่างอิสระจำนวนมาก  นั่นคือ  พบว่ายังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในสังคมบางส่วน  ทำให้ทัศนคติของคนในประเทศไม่รุนแรงต่อการกระทำที่ละเมิดลิขสิทธิ์นั่นเอง
สำหรับประเทศไทย  ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุดในการละเมิดลิขสิทธิ์ประจำปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) โดยเป็นการจัดอันดับของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา  (United  State  Trade  Representative )  ที่แสดงในงาน 2009 Special  301  Report  ซึ่งเป็นรายงานแสดงถึงความพยายามของประเทศสมาชิกในการบังคับใช้กฎหมายการคุ้มครองลิขสิทธิ์  ดังนั้น  จึงกล่าวได้ว่า  นอกจากกฎหมายแล้ ว การปรับทัศนคติ  และการสร้างจิตสำนึกในจริยธรรมอันดีในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ผู้อื่นผลิตขึ้นมาอย่างยากลำบากนั้น  ย่อมเป็นเรื่องสำคัญที่ควรมีการรณรงค์ควบคู่กันไป
การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม
เช่น  การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ในเวลางาน,  เข้าเว็บไซต์ลามกอนาจาร,  การดาวน์โหลดภาพยนตร์  เพลง  หรือ  ซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยใช้อินเทอร์เน็ตขององค์กร,  การสนทนากับเพื่อนด้วยโปรแกรม  Windows   Live  Messenger และ  การเล่นเกมในเวลางาน  เป็นต้น  พฤติกรรมดังกล่าวจัดว่าเป็นการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ขององค์กรอย่างไม่เหมาะสม  ซึ่งนอกจากทำให้ปริมาณงานลดน้อยลงแล้ว  ยังทำให้องค์กรมีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วย  เช่น  การ Forward  E-mail  ลามกอนาจาร  เป็นต้น
การแบ่งปันสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม
เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที  ผู้ใช้งานไอทีในองค์กรและผู้ใช้ทั่วไป  มักมีการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกันอยู่เสมอ  ซึ่งเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่แลกเปลี่ยนกันบางครั้งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น  เช่น  เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า  ซัพพลายเออร์  เป็นต้น  นอกจากนี้  พนักงานในองค์กรที่ทราบข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า  เช่น  แผนงานโปรโมชั่นทางการตลาด  สูตรการผลิต  กระบวนการผลิต ซึ่งบางครั้งมักสนทนากับเพื่อนโดยการเล่าให้เพื่อนฟัง  นับว่าเป็นการเปิดเผยความลับขององค์กรให้บุคคลอื่นทราบ  ความลับดังกล่าวอาจไปถึงมือคู่แข่งทางธุรกิจและสร้างความเสียหายแก่องค์กรได้ในที่สุด


อ้างอิงจาก

https://lovetal1112.wordpress.com/บทที่-2/

Virus and Worm ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร


Virus
คือ แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์โดยการแนบตัวมั นเองเข้าไป มันไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆไ ด้ต้องอาศัยไฟล์พาหะ สิ่งที่มันทำคือสร้างความเสียหายให้กับไฟล์

Worm
คือ คัดลอกตัวเองและสามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื ่องอื่นๆได้อย่างอิสระ โดยอาศัยอีเมลล์หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ มักจะไม่แพร่เชื่อไปติดไฟล์อื่น สิ่งที่มันทำคือมักจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเครื อข่าย

Virus and Worm ทำหน้าที่ต่างกันอย่างไร
Virus แน่นอนว่ามีมาก่อน Worm มีตั้งกะสมัยจอเขียว ใช้ DOS ตามชื่อ ไวรัส ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ปกติ แต่จะต้องไปเกาะติดโปรแกรมต่างๆ โดยไวรัสปกติจะไปแก้ไขไฟล์ .exe หรือ .com โดยเอาตัวเองไปต่อท้ายไฟล์นั้นๆ ทำให้ไฟล์มีขนาดใหญ่ขึ้นเล็กน้อยและไปแก้หัวของโปรแกรมให้เรียกใช้งานส่วนที่เป็น Virus ก่อน เมื่อเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ก็จะไปเรียกใช้งานส่วนที่เป็น Virus ก่อน โดย Virus จะทำการตรวจสอบว่ามีตัวเองอยู่ในหน่วยความจำแล้วหรือไม่ ถ้าไม่มีก็โหลดตัวเองขึ้นไปอยู่ในหน่วยความจำ (ทั้ง DOS และ Windows เหมือนกัน) จากนั้นจะทำการ Hook พวก Service ต่างๆ เช่น การอ่าน เขียนไฟล์ มาที่ตัวเอง แล้วจึงกลับไปทำงานโปรแกรมที่เรียกขึ้นมา ดังนั้นเมื่อเรียกใช้โปรแกรมที่ติดไวรัส โปรแกรมจะยังทำงานได้ตามปกติ แต่หารู้ไม่ว่าเครื่องของท่านได้ติดไวรัสแล้ว 
Worm ต่างจากไวรัสแน่นอนเพราะว่า Worm จะเป็นโปรแกรมที่สามารถแพร่ตัวเองได้ Worm ไม่จำเป็นต้องไปเกาะกับไฟล์ใดๆ แต่ตัวโปรแกรมทั้งตัวของมันเป็น Worm เริ่มมาดังสมัยที่ Windows มีพวก VBS เพราะว่าเขียนง่าย แต่ก็มี Worm ที่เขียนด้วย Delphi หรือ C ก็มีเหมือนกันอยู่ในรูป .EXE และ .SCR นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบ .DOC และ .XLS ซึ่งเรียกใช้งาน VBS ได้ 
การทำงานของ Worm จะหลอกให้คนเปิดใช้งานโปรแกรม โดยหลอกว่าเป็น เอกสารสำคัญ รูปภาพสวยๆ โปรแกรม Hack Crack ต่างๆ โปรแกรมจับหน้าจอ พอเปิดแล้ว Worm จะคัดลอกตัวเองไปเก็บไว้ในที่ใดที่หนึ่ง แล้วแก้ Registry ของ Windows ให้เรียกใช้งานโปรแกรมดังกล่าวตลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจพบ จึงมักจะเปลี่ยนชื่อของโปรแกรมให้เป็นชื่อคล้ายๆ กับ Service ใน Windows เช่น rundll, service เป็นต้น หลังจากผ่านกระบวนการติดตั้งตัวเองใน Windows แล้ว จะเข้าสู่กระบวนการแพร่กระจาย 
Worm สามารถแพร่กระจายได้หลายวิธีเช่น การส่งอีเมล การส่ง IM และการใช้ Network แบบ Peer-2-Peer แต่พื้นฐานแล้วเหมือนกันคือ ส่งตัวเองออกไปให้ได้มากที่สุด และหลอกล่อให้เครื่องที่ส่งต่อไปติดด้วย 
ความเสียหาย Worm จะทำให้ระบบ Network ขัดข้องเพราะว่ามีปริมาณการส่งอีเมลเป็นจำนวนมากเกิดขึ้นระหว่างที่มีการแพร่ของ Worm แต่ Worm บางชนิดก็ร้ายกว่านั้น เช่น สุ่มลบเอกสารที่สำคัญของเครื่องเรา หรือจะเหมือนตั้งเวลาเพื่อสร้าง DDoS กับเครื่องเป้าหมาย 




อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www.servertoday.com/system/knowledgebase.php?action=displayarticle&id=16

White hacker & Black hacker คืออะไร

White hacker & Black hacker คืออะไร
White hat hacker
เป็น Hacker ที่ถูกว่าจ้างโดยบริษัทหรือหน่วยงานรัฐบาล เพื่อคอยค้นหาจุดอ่อนในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรนั้นๆ แล้วแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวให้หมดไป นั่นก็คือใช้ความรู้ของตนในทางที่ถูกที่ควร เช่น เมื่อเจาะระบบเข้าได้แล้วก็จะแจ้ง bug ไปยังเจ้าของ web site หรือว่าเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้น เพื่อหาทางแก้ไข bug นั้น คำศัพท์อีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ ethical hacker ซึ่งหมายถึง Hacker ที่เข้าไปเจาะระบบแล้วแก้ไข bug นั้นให้เลย คนพวกนี้นับว่าเป็นพวกปิดทองหลังพระจริงๆ เพราะว่าไม่มีใครรู้อยู่แล้วว่าเขาเป็นใคร นอกจากพวกเดียวกัน

Black hat hacker
หรือ Hacker หมวกดำเป็น hacker ที่เจาะระบบอย่างผิดกฎหมายและสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นในระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่ง hacker ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้ที่ดูแลความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างยิ่ง จะเป็นพวกพรรคมาร คือใช้วิชาในทางที่ผิดเป็นวิชามาร แหล่งชุมนุมพวกนี้คือ web site ต่างๆ แล้ว web site ไม่ว่าจะเป็น virus script อันตรายๆ ad Aare spy ware โทรจัน software key logger link ที่ไปสู่ software ผิดกฎหมาย รวมทั้ง web site ลามก(ซึ่งอันหลังบางทีไม่ต้องlink เราก็หาเองเลย )





อ้างอิงข้อมูลจาก

http://little-blackstar3.blogspot.com/2013/04/hacker-cracker.html