Software pirate คืออะไร
การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (Software Piracy) คือ การทำซ้ำหรือดัดแปลง การเผยแพร่ซอฟต์แวร์ต่อสาธารณะชน การให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาซอฟต์แวร์ ตลอดจนการแสวงหากำไรจากซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือโดยไม่ได้เสียค่าใช้จ่ายตามค่าลิขสิทธิ์ที่กำหนดไว้
สำหรับผู้ใช้งานไอทีทั่วไป มีโอกาสที่จะละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการไม่เข้มงวดกับข้อบังคับขององค์กร หรือแม้กระทั่งการเพิกเฉยของผู้เชี่ยวชาญ นอกจากนี้ งานวิจัยบางผลงาน (โดย ดร. Whitman) ได้กล่าวว่า การละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ส่วนหนึ่งมาจากทัศนคติ (Attitude) ของประชาชนในแต่ละประเทศต่อเรื่องดังกล่าว เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีความอดทนต่อการละเมิดลิขสิทธิ์น้อยมาก นั่นแสดงให้เห็นว่า ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายและการปฏิบัติที่เข้มงวดต่อการละเมิดลิขสิทธิ์มาโดยตลอด ทำให้พลเมืองมีทัศนคติเป็นไปในทางเดียวกัน คือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการละเมิดลิขสิทธิ์
ตรงกันข้ามกับกลุ่มประเทศในฝั่งทวีปเอเชียที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์สูงที่สุด โดยปัจจัยหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุคือ “กฎหมาย บทลงโทษ และการปฏิบัติที่ไม่เคร่งครัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ” นอกจากนี้ อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ ประชาชนพบเห็นการค้าขายซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายอย่างอิสระจำนวนมาก นั่นคือ พบว่ายังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในสังคมบางส่วน ทำให้ทัศนคติของคนในประเทศไม่รุนแรงต่อการกระทำที่ละเมิดลิขสิทธิ์นั่นเอง
สำหรับประเทศไทย ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่น่าจับตามองมากที่สุดในการละเมิดลิขสิทธิ์ประจำปี พ.ศ. 2552 (ค.ศ. 2009) โดยเป็นการจัดอันดับของสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (United State Trade Representative ) ที่แสดงในงาน 2009 Special 301 Report ซึ่งเป็นรายงานแสดงถึงความพยายามของประเทศสมาชิกในการบังคับใช้กฎหมายการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า นอกจากกฎหมายแล้ ว การปรับทัศนคติ และการสร้างจิตสำนึกในจริยธรรมอันดีในการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ผู้อื่นผลิตขึ้นมาอย่างยากลำบากนั้น ย่อมเป็นเรื่องสำคัญที่ควรมีการรณรงค์ควบคู่กันไป
การใช้งานคอมพิวเตอร์อย่างไม่เหมาะสม
เช่น การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ในเวลางาน, เข้าเว็บไซต์ลามกอนาจาร, การดาวน์โหลดภาพยนตร์ เพลง หรือ ซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยใช้อินเทอร์เน็ตขององค์กร, การสนทนากับเพื่อนด้วยโปรแกรม Windows Live Messenger และ การเล่นเกมในเวลางาน เป็นต้น พฤติกรรมดังกล่าวจัดว่าเป็นการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ขององค์กรอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งนอกจากทำให้ปริมาณงานลดน้อยลงแล้ว ยังทำให้องค์กรมีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วย เช่น การ Forward E-mail ลามกอนาจาร เป็นต้น
การแบ่งปันสารสนเทศอย่างไม่เหมาะสม
เช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญด้านไอที ผู้ใช้งานไอทีในองค์กรและผู้ใช้ทั่วไป มักมีการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกันอยู่เสมอ ซึ่งเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารที่แลกเปลี่ยนกันบางครั้งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น เช่น เป็นข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ซัพพลายเออร์ เป็นต้น นอกจากนี้ พนักงานในองค์กรที่ทราบข้อมูลที่เป็นความลับทางการค้า เช่น แผนงานโปรโมชั่นทางการตลาด สูตรการผลิต กระบวนการผลิต ซึ่งบางครั้งมักสนทนากับเพื่อนโดยการเล่าให้เพื่อนฟัง นับว่าเป็นการเปิดเผยความลับขององค์กรให้บุคคลอื่นทราบ ความลับดังกล่าวอาจไปถึงมือคู่แข่งทางธุรกิจและสร้างความเสียหายแก่องค์กรได้ในที่สุด
อ้างอิงจาก
https://lovetal1112.wordpress.com/บทที่-2/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น